โรงเรียนดวงกมล
ความพิเศษของกลุ่มดวงกมล ก็คือ ทุกครั้งที่มีเงินเหลือ ก็มักจะทำโน่นทำนี่ ให้มีปัญหาเรื่องเงินอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ก็ยัง ชอบทำอะไรแบบฝัน ๆ เพียงฟังคนเขาเล่า หรือเห็นเขาทำก็นำมาวางแผน ซึ่งหากคิดแล้ววางแผน ก็คงไม่เดือดร้อน แต่บังเอิญมีทุนรอน พร้อมที่จะทำอะไรก็ได้ที่อยากทำ สมาชิกคนสำคัญของกลุ่มดวงกมลที่ชอบทำโรงเรียนเป็นชีวิตจิตใจก็คงเป็นคุณสุชาติ สูงสว่าง น้องชายคนเล็กของลุงสุข คุณสุชาติ เป็นคนที่มีความฝันสูงมาก แก่ฝันเรื่องโรงเรียนอยู่ตลอดเวลา อย่างกับว่าอยากให้ใคร ๆ เรียกแกว่าอาจารย์อย่างนั้นแหละ ซึ่งอาจจะไม่ใช่ก็ได้ เพราะช่วงที่แกทำโรงเรียนแรก ๆ นั้นคำว่าอาจารย์ มักใช้กันเฉพาะพวกอยูตามวัด แล้วดูดวง หรือทำเครื่องลางของขลังเท่านั้น ตอนที่เปิดโรงเรียนดวงกมลแห่งแรก เราสอนเรื่องเกี่ยวกับไฟฟ้า ควบคุ่กับการทำนิตยสารความรู้ทางได้ไฟฟ้า ชื่อว่า อีเลคโทนิคเวิลส์ โดยใช้นิตยสารเล่มนี้เป็นสื่อหาทั้งอาจารย์มาสอน และลูกศิษย์มาเรียน เมื่อประมาณ พ.ศ. 2525 ซึ่งประสบความสำเร็จค่อนข้างมาก มีนักเรียน แต่ละปี ไม่น้อยกว่า 500 คน หลังจากทำโรงเรียนสอนเรื่องวิชาการไฟฟ้ามาถึงพ.ศ. 2530 ก็เรี่มเปลี่ยนแนวมาเป็นโรงเรียนสอนคอมพิวเตอร์ มีนักเรียนมาเรียนกันตรึมเลย และโรงเรียนดวงกมล ก็เป็นเหมือนโรงเรียนพิเศษสำคัญ อาจารย์ที่เป็นทหารช่างทหารอากาศ ที่มาสอนหารายได้พิเศษนอกเวลาราชการ และแล้วก็เกิดปัญหา เพราะเวลาทำงานกับทหารนั้น เมื่อถึงเวลาหนึ่ง เมื่อมีปัญหา ก็จะยกพวกพากันกลับเข้าค่าย ทำให้โรงเรียนต้องหยุดกิจการไปโดยปริยาย แต่ความตั้งใจการทำโรงเรียนของกลุ่มดวงกมลก็ไม่ได้สิ้นสุนเพียงเท่านั้น เพราะเป็นความโชคดีที่คุณสุชาติ ทานมีฝีมือจริง ๆ ที่ไปจีบนิสิตปริญญาโทของคณะศึกษาศาสตร์ของจุฬา มาเป็นภรรยา ก็เลยได้มีการคิดการใหญ่ เปิดโรงเรียนสามัญ ชื่อว่าโรงเรียนอนุบาลดวงกมล โดยไปตั้งหลักที่รังสิตคลองสอง สอนชั้นอนุบาล ถึง ปอ 6 รวมทั้งหมด 9 ชั้น และกลายเป็นโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จที่สุดของกลุ่มดวงกมลที่ได้พยายามทำมาเกือบ 10 โรงเรียน
แต่เป็นที่น่าเสียดาย เมื่อปรากฎว่า ในปีการศึกษา 2548 โรงเรียนนี้จำเป็นต้องปิดตัวลง เพราะไม่สามารถยอมรับกับข้อบังคับของกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยอัตราค่าจ้างครู และการคืนเงินให้กับนักเรียน ที่สมัครเข้าเรียนแล้ว เปลี่ยนใจ ลาออกไปเรียนโรงเรียนอื่น โดยทางโรงเรียนต้องคืนเงินที่รับไว้ทั้งหมดให้ โดยมีกำหนดว่าเด็กสามารถลาออกได้หลังโรงเรียนเปิดเรียนแล้วไม่เกิน 15 วัน
กลับไปหน้าแรก
mail ถึงเมืองหนังสือ
กลับไปหน้าแรก