โรงแรมดวงกมลแม่สอด::

จองห้องพัก::

รายการพิเคษ::
จดหมายถึงผู้จัดการ::
เจ้าพ่อพะวอ::

โรงแรมแห่งนี้สร้างจากเศษกระดาษและขวดเหล้า:::เริ่มแล้ววันนี้ ส่งเสริมปีแห่งการอ่าน : ห้องปรับอากาศเตียงคู่ราคา 600 บาท แถมหนังสืออีก 600 บาท

โรงแรมดวงกมลแม่สอด

โรงแรมขนาด 6๐ ห้อง พร้อมที่จอดรถเพียงพอสำหรับทุกห้อง

อยู่กลางเมืองแม่สอด บนถนนอินทรคีรี ซึ่งเป็นถนนสายหลัก

ใกล้ธนาคาร ไปรษณีย์ และแหล่งการค้า

มีห้องพักให้เลือกตามความต้องการ

ห้องประหยัด(พัดลม) ราคาไม่เกิน ๒๕๐ บาท

ห้องมาตรฐาน(ปรับอากาศ)๔๐๐บาท

ห้องพิเศษ(ปรับอากาศ-น้ำร้อน-ตู้เย็น)ราคา 800 บาท

มีบริการ internet ,wi-fi ,business center,รถเช่า และจักรยาน

รวมทั้งการจัดหาไกด์นำเที่ยวและเจรจาธุรกิจ

บริเวณโรงแรมยังเป็นศูนย์การค้าขนาด ย่อม และใกล้กับ แหล่งการค้าสำคัญของแม่สอด

เราให้ความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน และพร้อมจะให้ความช่วยเหลือท่านแบบญาติมิตร

สอบถามและจองห้องพักได้ที่ email : hotel@thaidk.com หรือ 081-7788877

โรงแรมดวงกมล


กลุ่มดวงกมลมีที่ดินที่แม่สอด จังหวัดตากอยู่หลายแปลง ได้มีการลงทุนที่แม่สอด ด้วยการซื้อที่ดิน เพราะอ่านพบในรายงานของสหประชาชาติ ฉบับหนึ่งว่าด้วยเส้นทางการเชื่อมโยง ไปยุโรป และจีนจากประเทศไทย โดยการเดินทางจะผ่านออกจากประเทศไทย ผ่านทางอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เพื่อไปยุโรป และบ้านห้วยโก๋รน จังหวัดน่าน ถ้าจะไปจีนการลงทุนซื้อที่ดินจากการได้ อ่านรายงานฉบับนี้ เป็นการรอคอยที่นานมาก เพราะหลังจากที่ได้ซื้อที่ดินแล้ว ก็ปล่อยเลยตามตาม แต่แล้ววันหนึ่ง แค่คุยกันเล่น ๆ ว่าน่าจะสร้างโรงแรม ไว้เป็นธุรกิจ สำหรับเป็นน้ำบ่อทราย ในยามแก่ ของผู้บริหารกลุ่มดวงกมล นักคิดนักคำนวณทั้งหลายก็นำไปวางแผนการสร้างโรงแรม บนหลักการว่า ถ้าเรามีที่ดินอยู่แล้วเราจะทำอย่างไร ถึงจะสร้างโรงแรมได้ โดยที่ไม่ต้องควักกระเป๋า โดยกะว่าจะสร้างที่อำเภอแม่สอดเป็นแห่งแรก

หนึ่งเดือนให้หลัง ก็มีการเสนอแผนต่อที่ประชุมมากมายหลายอัน แต่อันที่แน่ที่สุด และเป็นที่ยอมรับของที่ประชุมก็คือ ในเมื่อเรามีสาขาอยู่ 90 แห่ง ขอแบ่งกำไรมาแห่งละหนึ่งพันบาท เดือนหนึ่งก็จะมีเงินสำรองเดือนละ 9 หมื่นบาท และเอาเงินเก้าหมื่นบาทนี้ มาเสียดอกเบี้ย 6 ล้านบาท ที่กู้จากธนาคาร ได้ สบาย ๆ และการขอสาขาละ หนึ่งพันบาทต่อเดือนก็ไม่น่ายากอะไร สั่งให้เขาเอาเศษกระดาษและขวดเหล้าไปขาย ก็น่าจะได้เงินมากกว่าเดือนละหนึ่งพันบาทแน่นอน

คิดได้ดังนี้ ก็มีการสั่งให้สาขาทั้งหลายเก็บเศษกระดาษ ขวดเหล้าขวดเบียร์ เอาไปขาย แล้วส่งเงินเข้าศูนย์ และก็ทำได้ตามที่สั่งไปตามสาขาต่าง ๆ

หลังจากนั้นสามเดือน ก็มีการกู้จากธนาคารกสิกรไทยจำนวน 6 ล้านบาท โดยขอจ่ายดอกเบี้ยอย่างเดียวก่อน สามปี ธนาคารก็ใจดี จึงเป็นอันว่าตกลง จัดการ หาช่างมาสร้างโรงแรมแห่งแรกที่แม่สอด บนที่ดิน 3 ไร่ เรียกช่างรับเหมามาคุยว่าจะสร้างโรงแรม โดยสร้างแบบตึกแถว เผื่อมีปัญหาจะได้ขายเป็นห้อง ๆ ช่างเขาก็บอกว่า เงิน 6 ล้านสร้างได้ 13 คูหา ซึ่ง ถ้าจะทำห้องพักทั้งอาคารจะได้ประมาณ 90 ห้อง แต่ถ้าจะสร้างเพียง 2 ชั้น คือชั้น 3 และ 4 เพราะชั้นล่างจะทำเป็นพลาซ่าให้คนเช่า ส่วนชั้นที่สองจะทำเป็นศูนย์หนังสือ ก็สร้างห้องพักโรงแรมได้ 48 ห้องจึงเป็นอันตกลงให้ช่างรับเหมาชาวพม่าทำแบบห้องพัก 48 ห้องมีพื้นที่ให้ชาวบ้านเช่า และมีพื้นที่ทำศูนย์หนังสือของตนเองขนาด 700 ตารางเมตรบนชั้นสอง

เรามีแต่คอยจ่ายเงินอย่างเดียว ให้ช่างเขาทำตามแบบทุกประการ โดยขู่ช่างรับเหมาว่า ถ้าทำไม่ดี ให้ไปเก็บเงินที่ศาลนะ ปรากฎว่าผลงานใช้ได้เลยใช้ได้เลย

เราได้โรงแรมตามที่คิดไว้ แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือการขอใบอนุญาต และคนมาทำงาน เพราะ พวกเราไม่มีความรู้ในการทำโรงแรม มีผู้บริหารคนหนึ่งเคยเป็นเจ้าของม่านรูดมาก่อนแต่ไม่อยากให้แกเข้ามารับผิดชอบเพราะแกเคยเล่าให้ฟังว่า แกมีการเจาะรูตามห้องต่าง ๆ ไว้ดูแลความปลอดภัยให้กับลูกค้า ในที่สุดก็ให้ญาติของคุณนฤมล ซึ่งอยู่ที่แม่สอดอยู่แล้ว เป็นผู้รับผิดชอบงานนี้ โดยให้เหมาจ่ายไปบริหาร แต่ถ้าขาดทุนก็เอามาคืนก็แล้วกัน ส่วนปัญหาเรื่องใบอนุญาตนั้นแสนสาหัสจริง ๆ เราพยายามออกแบบให้ดีที่สุดแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ 5-6 หน่วยมาตรวจแล้วสั่งให้เราแก้ไขโน่นแก่ไขนี่ จนทำเอาเซ็งไปเลย แต่อย่างว่าแหละ เมืองไทยนี้ต้องหาลูกพี่เข้ามาช่วย ไม่อย่างนั้นก็ต้องจ่ายเงินอย่างเดียว เราเลือกไปขอความช่วยเหลือจากลูกพี่ดีกว่า ทุกอย่างจึงเกิดขึ้นได้โดยไม่ผิดกฎหมาย

ความจริงแล้วในบรรดาอาชีพทั้งหลายนั้น การขายหนังสือน่าจะเป็นอาชีพที่ง่ายที่สุด มาเจอปัญหาในการบริหารโรงแรมแล้ว ถ้าคิดมากคงเลิกราหรือฆ่าตัวตายไปแล้ว มีปัญหามากจริง ๆ ปัญหาที่แย่มาก ๆ ก็เกิดจากทางราชการ จะขออย่างเดียว พูดมากไปจะทำให้เกิดปัญหาเปล่า ๆ..........................................

เอาเป็นว่ากลุ่มดวงกมลก็ได้โรงแรมมาเป็นเจ้าของแห่งหนึ่งโดยง่าย ค่อย ๆ ผ่อนชำระธนาคารไปเรื่อย ๆ 20 ปีก็คงจะผ่อนหมด ตอนนั้นธนาคารคิดดอกเบี้ยร้อยละ 18 ต่อเดือน ซึ่งถ้าตอนเป็นตอนนี้ ซึ่งดอกเบี้ยอยู่ที่อัตรา เพียง 5 % เท่านั้น เราคงสร้างโรงแรมได้ใหญ่กว่านี้ 3 เท่า แต่ก็คงมีปัญหามากขึ้นเป็น 3 เท่าเช่นกัน นอกจากนี้ก็มีการบันทึกไว้ว่า โรงแรมดวงกมลแห่งนี้ เป็นโรงแรมที่สร้างจากเศษกระดาษและขวดเหล้า

โรงแรมดวงกมลแห่นี้ได้ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเมื่อกลุ่มดวงกมลต้องการสร้างเมืองหนังสือที่นครสวรรค์ โดยนำไปค้ำประกันการกู้เงินเกือบห้าสิบล้านบาท ซึ่งเมื่อเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจเมื่อพ.ศ. 2540 ก็มีปัญหากับธนาคาร โดยถูกบังคับให้ขายเพื่อนำเงินมาใช้หนี้ จึงได้มีการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนดวงกมลแม่สอด เข้ามาแก้ปัญหา โดยการกู้เงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งก็สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะดอกเบี้ยใหม่นั้นค่อนข้างถูก ไม่ถึง 6 % ต่อปี ทำให้เราเพียงแค่จ่ายหนี้แต่ละเดือนเท่ากับ ที่เราจ่ายให้กับธนาคารกสิกรไทย เพียงแค่ 15 ปี หนี้สินก็จะหมด ผู้ที่สบายคือคนรุ่นหลัง ซึ่งถ้าพวกเขารู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต ก็จะเป็นการดีอย่างยิ่ง

ปัญหาเส้นทางกำแพงเพชร-อุ้มผาง

ทางหลวงหมายเลข 1117 เป็นถนนเพื่อความมั่นคงของกองทัพภาคที่3 โดยมีแผนที่จะก่อสร้างเพื่อเชื่อมต่อเส้นทาง จ.กำแพงเพชร กับ จ.ตาก เส้นทางสายนี้เริ่มต้นกิโลเมตรที่ 0+000 จากแยกบริเวณกิโลเมตรที่ 345+792 ของทางหลวงหมายเลข 1 ที่บ้านคลองแม่ลาย จ.กำแพงเพชร สู่ อ.อุ้มผาง จ.ตาก แต่ถนนสายนี้ได้ยุติการดำเนินการก่อสร้างเพียงที่ กิโลเมตรที่ 115 ซึ่งยังมีระยะทางที่ไม่ได้ก่อสร้างอีกประมาณ 28 กม.จึงจะถึงตัว อ.อุ้มผาง ซึ่งมีลำดับความเป็นมาดังนี้ - พ.ศ.2518 เริ่มดำเนินการก่อสร้าง - พ.ศ.2525 ผืนป่าด้านทิศเหนือของแนวถนนในเขต จ.กำแพงเพชร ถูกประกาศเป็น “อุทยานแห่งชาติคลองลาน” - พ.ศ.2527 ก่อสร้างเส้นทางมาถึงกิโลเมตรที่ 115 - 3 มิถุนายน พ.ศ.2529 คณะกรรมการอำนวยการและประสานงานแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงในเขตกองทัพภาคที่ 3 มีมติในการประชุมครั้งที่ 3/2529 ให้ระงับการก่อสร้างถนนไว้เพียงที่ กม.115 และอพยพชาวเขาจำนวนกว่า 5 พันคนออกจากพื้นที่ป่าที่ถนนตัดผ่าน - 30 มิถุนายน พ.ศ.2530 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ระงับการก่อสร้างเส้นทางที่ กิโลเมตร115 - กันยายน 2530 ผืนป่าด้านทิศใต้ของแนวถนนในเขต จ.กำแพงเพชร ถูกประกาศเป็น “อุทยานแห่งชาติแม่วงก์” - พ.ศ. 2532 วันที่ 4 พ.ค. กองทัพภาคที่ 3 และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ จ.พิษณุโลก มีหนังสือ แจ้งผลการพิจารณาผลดี – ผลเสีย ในการก่อสร้างเส้นทางสายคลองลาน – อุ้มผาง สรุปความเห็นว่า ควรชะลอการก่อสร้างเส้นทางดังกล่าวเพื่อผลทางด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ..... พลตรี สนั่น ขจรประสาสน์ รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีบันทึกลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2532 สั่งการกรมป่าไม้ว่าไม่สมควรอนุญาตให้ก่อสร้างเส้นทางสายนี้ - มีนาคม 2537 ผืนป่าด้านทิศตะวันตกของแนวถนนในเขต จ.ตาก ถูกประกาศเป็น “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง” ทำให้ทางหลวงสายนี้ตั้งแต่กิโลเมตรที่ 54 -94.5 อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ จ.กำแพงเพชร คือ อช.คลองลาน และ อช.แม่วงก์ ส่วนกิโลเมตรที่ 94.5 – 115 รวมทั้งผืนป่าส่วนที่ยังไม่ถูกถนนตัดผ่านระยะอีกประมาณ 28 กม. อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง - พ.ศ.2542 เกิดกระแสเรียกร้องการก่อสร้างเส้นทางหลวงสายคลองลาน-อุ้มผาง ซึ่งส.ส.กำแพงเพชร พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ได้มีกระทู้ถามนายกรัฐมนตรีในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันที่ 8 กรกฎาคม 2542 กรณีการสร้างเส้นทางหลวงแผ่นดินสายคลองลาน-อุ้มผาง นายปองพล อดิเรกสาร รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้ตอบกระทู้ดังกล่าวสรุปว่า มติ ครม.เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2530 เห็นชอบให้ระงับการก่อสร้างเส้นทางดังกล่าว - พ.ศ. 2545 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผบ.สส.(ในขณะนั้น)นำคณะนายทหารและสื่อมวลชนเดินป่าเส้นทางสายคลองลาน – อุ้มผาง จาก อช.แม่วงก์ จ.กำแพงเพชรถึง บ้านอุ้มผางคี อ.อุ้มผาง จ.ตาก ต่อมา พลเอกสุรยุทธ์ ได้ให้สัมภาษณ์นิตยสารโลกสีเขียว ฉบับเดือน มี.ค. – เม.ย. 2547 โดยกล่าวถึงถนนสายคลองลาน – อุ้มผาง ว่า “ไม่น่าจะมีถนนตัดข้ามไปที่ อ.อุ้มผาง ซึ่งเป็นระยะทางเกือบ 30 กม. เพราะว่าผืนป่ายังอุดมสมบูรณ์มาก และไม่มีความจำเป็นที่ต้องทำถนนเพื่อตรงนั้นขึ้นมา” และต่อมาช่วงปลายปี 2545 เกิดกระแสเรียกร้องถนนสายนี้ขึ้นจากนักการเมืองท้องถิ่นในอำเภออุ้มผาง โดยมีการขึ้นป้ายข้อความเรียกร้องในอำเภออุ้มผาง - พ.ศ.2547 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลทั่วประเทศ และเดินทางมาตรวจเยี่ยมที่ จ.กำแพงเพชร ในวันที่ 18 ก.ค. 2547 โดย ส.ส.กำแพงเพชร พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ได้ยื่นเรื่องต่อนายกรัฐมนตรีขอให้จัดสร้างถนนเชื่อมคลองลาน-อุ้มผาง ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบที่จะของบประมาณ 573 ล้านบาทเพื่อโครงการดังกล่าว - 21 ก.ค.47 หอการค้าจังหวัดตากมีหนังสือ ที่ หกค.มส.124/2547 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2547 ถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้ทบทวนโครงการดังกล่าว - 24 ก.ค.47 ประธาน กอต.ตากให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน(มติชน, 25 ก.ค.47)ถึงคุณค่าและความสำคัญของผืนป่าตะวันตก ผลกระทบของการก่อสร้างถนนต่อป่าและต้นน้ำ สุดท้ายสรุปว่าถนนสายนี้เป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า - 30 ก.ค. 47 ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม จัดเสวนาเรื่อง “ถนนผ่าป่า-อุโมงค์ผ่าเขา-กระเช้า 3 ชาติ” โดยมีตัวแทนมูลนิธิสืบฯ มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชฯ ร่วมเสวนา รองเลขาธิการ มูลนิธิสืบฯแสดงความเห็นว่า โครงการตัดถนนสายคลองลาน-อุ้มผาง ผ่านป่าตะวันตกนั้นจริงๆโครงการยุติไปแล้ว ไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น หากมีการตัดถนนจะเป็นการทำลายระบบนิเวศที่ต่อเนื่องของป่า ทำลายทรัพยากรระดับโลกอย่างป่าห้วยขาแข้ง-ทุ่งใหญ่นเรศวร สุดท้ายได้ยกตัวอย่างถนนที่ตัดผ่าป่าเขาอ่างฤาไนว่ามีสัตว์ป่าถูกรถชนตายจำนวนมาก - 9 ส.ค.47 ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียรเดินทางเข้ายื่นหนังสือคัดค้านโครงการตัดถนนหมายเลข 1117 คลองลาน-อุ้มผาง ถึงนายกรัฐมนตรีผ่านนายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - เครือข่ายคณะกรรมการอนุรักษ์ผืนป่าตะวันตก 6 จังหวัด และมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ยื่นหนังสือคัดค้านโครงการตัดถนนหมายเลข 1117 คลองลาน – อุ้มผาง เลขที่ พิเศษ 003/2547 ถึง ประธานกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา และอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช - 18 – 19 ส.ค. 47 มูลนิธิสืบนาคะเสถียรร่วมกับชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม นำคณะผู้สื่อข่าวลงศึกษาพื้นที่ ตามโครงการปรับปรุงถนนหมายเลข 1117 คลองลาน – อุ้มผาง ณ หน่วยพิทักษ์อุทยานฯช่องเย็น อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ - 20-24 ส.ค. 47 คณะนักวิชาการด้านนิเวศวิทยาป่าไม้และฝ่ายวิชาการมูลนิธิสืบนาคะเสถียรเดินสำรวจเส้นทางถนนหมายเลข 1117 เส้นทางคลองลาน – อุ้มผาง - 25 ส.ค.47 คณะนักวิชาการฯ และฝ่ายวิชาการมูลนิธิฯ ร่วมแถลงข่าว การสำรวจเส้นทางคลองลาน – อุ้มผาง ณ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร - ส.ค.2547 เครือข่ายคณะกรรมการอนุรักษ์ผืนป่าตะวันตก 6 จังหวัดและมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ยื่นหนังสือคัดค้านโครงการตัดถนนหมายเลข 1117 คลองลาน-อุ้มผาง เลขที่พิเศษ 003/2547ถึงประธานกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม วุฒิสภาและอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช - 8-10 ก.ย.47 มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ร่วมกับกลุ่มตัวตุ่นที่ อ.อุ้มผาง จัดเวทีให้ความรู้เรื่องความสำคัญของระบบนิเวศ พร้อมกับทำกิจกรรมรณรงค์เรื่องถนนคลองลาน-อุ้มผาง ให้กับนักเรียนโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม - 15 ก.ย. 47 มูลนิธิสืบฯส่งหนังสือถึงอธิบดีกรมทางหลวง และอธิบดีกรมทางหลวงชนบท เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมการดำเนินโครงการถนนคลองลาน – อุ้มผาง

แผนที่แม่สอด

กลับไปหน้าแรก

จองโรงแรม

ร้องเรียนถึงกรรมการผู้จัดการ