|
การสร้างเมืองหนังสือในเมืองไทย
ปี ค.ศ. 1990 ช่วงที่กลุ่มดวงกมลเปิดตัวเมืองหนังสือในเมืองไทย ทั่วโลกมีเมืองหนังสีออยู่ 10 แห่ง
ทุกแห่งมีเป้าหมายในการดำเนินงานแบบเดียวกัน คือเตรียมพร้อมเพื่อการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจหนังสือ ซึ่งคาดว่า ภายในปี 2010 ร้านหนังสือที่เราเห็น ๆ กัน จะหายไป อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงที่มีสื่ออื่นมาแทนที่ และการดำเนินงานของศูนย์หนังสือจะมีค่าใช้จ่ายมากเกินไป จะต้องใช้ทุนมาก จะไม่คุ้มที่จะลงทุน เมื่อเที่ยบการลงทุนทำธุรกิจอื่นร้านหนังสือจะเป็นเพียงมุมหนึ่งในร้านสะดวกซื้อ และหนังสือที่ขายก็เป็นเพียงหนังสือขายดีไม่กี่เล่ม แต่ที่วางกันเป็นแผงก็คงมีแต่หนังสือพิมพ์และนิตยสาร ส่วนศูนย์หนังสือใหญ่ก็จะกลายสภาพเป็น พิพิธภัณฑ์หนังสือ และห้องสมุด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนังสือเก่า จะมีหนังสือใหม่อยู่บ้าง ก็เป็นหนังสือที่ขายดีตามกระแส เมืองหนังสือจะต้องมีธุรกิจอื่น พ่วงไปด้วย เพื่อมีเงินทุนมาหล่อเลี้ยงพิพิธภัณฑ์หนังสือ สำหรับเมืองหนังสือในประเทศไทย มีรูปแบบคล้ายกับเมืองหนังสือของเบลเยี่ยม ซึ่งเน้นการเป็นจุดท่องเที่ยวและค้นคว้าทางด้านประวิติศาสตร์ จะเป็นเหมือน กับโรงแรมที่มีธรรมชาติเป็นจุดขาย เพื่อนักเดินทางและท่องเที่ยวที่สนใจหนังสีอเป็นหลัก สำหรับเมืองหนังสือในประเทศไทย จะมีสาขา อยู่ที่ กรุงเทพ--แม่สอด และจังหวัดน่าน โดยหวังว่า ที่แม่สอดจะเป็นจุดพักสำหรับผู้จะเดินทางไปพม่าเพื่อต่อไปอินเดียและยุโรป ส่วนจังหวัดน่าน ก็เป็นศูนย์สำหรับผู้จะเดินทางไป หลวงพระบางประเทศเลว และเลยขึ้นไปทางเหนือเพื่อเข้าสูงประเทศจีน เราวางแผนการดำเนินงานโดยอาศัยข้อมูลการสร้างทางสายเอเซีย และมุ่งสู่ประเทศจีน ของแผนการพัฒนาประเทศ ฉบับแรก ๆ ที่มีการระบุไว้อย่างชัดแจ้ง ในการที่ไทยเราจะเป็นศูนย์การเดินทาง ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เราทำงานเหมือนกับการพยายามจะทำฝันให้เป็นเจริง เราต้องการ ทุกอย่างเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว แต่งานหลักและต่างต่างกับคนอื่น ๆ ก็คือจะต้องมีเป้าหมายหลักเกี่ยวโยงไปถึงหนังสือ สำนักพิมพ์ และนักเขียน
ดวงกมลอยากสร้างเมืองหนังสือในเมืองไทย เพราะถือว่าเราก็เป็นคนบ้า (หนังสือ)คนหนึ่งของเมืองไทย อยากทำอะไรเพื่อฝากไว้กับแผ่นดินเกิดกับเข้าบ้าง ทั้ง ๆ ที่เป็นงานใหญ่ เหมาะกับคนที่มีเงินเหลือเป็น ร้อยล้านพันล้าน แต่เมื่อตั้งใจว่าจะทำก็ต้องพยายามทำให้ได้ ถึงแม้นจะเป็นการจับเสือมือเปล่าก็ตาม
ก่อนจะตัดสินใจลงทุนที่นครสวรรค์ กลุ่มดวงกมลได้เลือกทำเลที่จะสร้างเมืองหนังสืออยู่หลายแห่ง เช่นที่พัทยา (ที่ดิน 10 ไร่ บริเวณเชิงเขาใก้ล ๆ วัดญาณ)ชุมพร (ที่ดิน 30 ไร่ สามารถเจาะภูเขาเข้าไปเป็นถ้ำบริเวณ อำเภอประทิว) โคราช อุดรธานี เชียงใหม่ แม่สอด น่าน อยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี รวมทั้งที่กรุงเทพมหานคร ด้วย
แต่ก็มีปัญหาไปหมดทุกแห่ง ไม่ว่า ความไกลจากกรุงเทพมหานคร ราคาที่ดินทิ่แพงจนไม่รู้จะหาทุนจากไหนมาลงทุนทั้ง ๆ ที่มีการกำหนดไว้ก่อนว่าว่า การลงทุนนั้นจะอาศัยเงินกู้เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องขนาดของที่ดิน ที่เคยมีความฝันว่าจะต้องใช้ที่ดินประมาณ พันไร่ สำหรับทำโครงการนี้
แต่เมื่อได้เห็นทำเลที่ดินที่อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ก็พูดได้คำเดียวว่า ใช่เลย นี่แหละคือทำเลของเมืองหนังสือ เพราะอยู่ริมถนน ใกล้ชุมชน มีธนาคาร ไปรษณีย์ ระบบโทรศัพท์ ประปา ไฟฟ้าพร้อม เราเองยังข้องใจว่า ที่สวย ๆ แบบนี้หลุดมาถึงเรา ได้ยังไง เอาเป็นว่ามันเป็นที่ของเราก็แล้วกัน
เราเริ่มต้นด้วยที่ดิน 40 ไร่ทั้งสองฝั่งของถนนสายเอเซีย ด้วยเงินทุน เริ่มต้นกู้จากคุณหญิงสายสนิท สวัสดิวัฒน์ นายทุนคนสำคัญของลุงสุข สูงสว่าง จำนวน 8 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อเดือน หลังจากนั้นเราได้คืนเงิน 8 ล้านบาท เมื่อนำโฉนดไปจำนองธนาคารได้ตามวงเงินที่เราเป็นหนี้คุณหญิง 8 ล้านบาท ตอนนั้นเสียดอกเบี้ยอัตรา 1.5 % ต่อเดือน หรือเดือนละ หนึ่งแสนสองหมื่นบาท เงินที่จ่ายดอกเบี้ยนี้ได้มาจากการค้าที่ดวงกมลมาบุญครอง และสาขาต่าง ๆ ในห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ เมื่อได้ที่ดิน แปลงแรกมาแล้ว ก็มีชาวบ้านชาวนามาขอให้เราช่วยซื้อที่ดินข้างเคียงเพิ่มขึ้นอยู่ทุกอาทิตย์ โดยระยะผ่านไปเพียง 3 เดือน ได้มีการตกลงซื้อที่ดินเพิ่มขึ้นเป็น หนึ่งพันไร่ โดยทั้งหมดใช้เงินกู้จากธนาคารทั้งนั้น ช่วงนั้นกลุ่มดวงกมลกำลังเนื้อหอม เพราะมีการออกข่าวว่าจะสร้างศูนย์หนังสือใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ ที่ศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ เรื่องเงินทุนจึงไม่มีปัญหา แต่เรื่องการจ่ายดอกเบี้ยก็เป็นห่วงอยู่เหมือนกัน แต่พอดี ช่วงนั้นกลุ่มดวงกมลมี มีสาขาอยู่เกือบร้อยแห่ง สั่งให้จ่ายสาขาละ 1 หมื่นบาทต่อเดือนก็ได้เงินมาอีกเดือนละ ล้านบาท เพียงพอสำหรับจ่ายดอกเบี้ยเงินต้นที่กู้มา 60 ล้านบาท โดยใช้ซื้อที่ดิน หนึ่งพันไร่ในวงเงิน 40 ล้านบาท และเอา 20 ล้านไปสร้างอาคารตึกแถว จำนวน 40 ห้อง โดยอาศัยช่างต่างชาติจากพม่ามาสร้าง ทุกอย่างก็เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ใช้เวลาก่อสร้างอาคารที่ว่า 1 ปีก็เสร็จเรียบร้อย เมื่อสร้างอาคารแล้ว ก็มีนายทุนจากสุพรรณบุรี เขามาขอซื้อที่ดิน ด้านหน้า 2 ไร่ในราคา 5 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าค่าที่ดิน 20 ไร่เพราะเราซื้อมาเพียง 4 ล้าน จึงเป็นอันว่าที่ดินแปลงที่เราสร้างอาคารหลังใหญ่ ก็ไม่มีต้นทุน ซึ่งนับว่าเป็นโชคดีอย่างมากในเบื้องต้นของโครงการเมืองหนังสือ ตามแผนหลักของเมืองหนังสือนั้น อาคารที่สร้างเป็นตึกแถว 40 คูหานั้นได้มีการออกแบบเพื่อปรับให้เป็นโรงแรมขนาด 300 ห้องได้ในอนาคต ส่วนที่จะเก็บและขายหนังสือนั้นกำหนดให้อยู่ฝั่งขาเขากรุงเทพ โดยขั้นต้นได้ซื้อโครงเหล็กจากงานแสดงสินค้ามาทำเป็นอาคารชั่วคราว 2 หลัง แล้วชวนชาวบ้านมาขายสินค้าพื้นบ้าน เพื่อเป็นการสร้างทำเลย และสร้างรายได้ แต่ปรากฎว่า พวกชาวบ้านสายป่านไม่ยาวพอ เพราะมาวางขายของเพียงอาทิตย์เดียว แล้วขายไม่ได้ ก็พากันบอกลากันหมด มีเพียงร้านอาหารซุ้มบอลเจ้าเดียว ที่กัดฟันสู้ เพราะลงทุนไปมากแล้ว โดยเราก็ได้สร้างอาคารไว้ขายหนังสือเคียงคู่กับเขาไปด้วย เอาเป็นว่าอยู่เป็นเพื่อนกันก็แล้วกัน ซึ่งต่อมาไม่นาน ทางซุ้มบอลเขาก็มาขอซื้อที่ดินจำนวนหนึ่งไร่กว่า ๆ ที่เราให้เขาเช่า เขาเต็มใจซื้อในราคา สี่ล้านบาท ทีแรกก็ไม่อยากขาย แต่เมื่อเห็นว่า เราซื้อมา 20 ไร่ 4 ล้าน เขามาขอซื้อ 1 ไร่ 4 ล้าน และเป็นการช่วยเหลือเขาด้วย เพราะเขาลงทุนสร้างอาคารเสียสวยงาม หากผู้บริหารรุ่นหลังเกิดไม่ยอมให้เขาเช่าเมื่อหมดสัญญา ก็จะเป็นปัญหาเปล่า ๆ ซึ่งก็ต้องขอบคุณซุ้มบอลเขาเป็นอย่างมาก ที่ทำให้โครงการเมืองหนังสือ ได้ตัดภาระค่าที่ดิน ที่ลงทุนไว้ ได้หมดไปในเวลาอันรวดเร็ว แบบฟ้าประทาน
ท่ามกลางความดีใจของการได้ขายที่ดินบางส่วนในราคาที่ลดต้นทุนได้หมด ก็มีปัญหาหากับธนาคารเมื่อเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจเมื่อพ.ศ. 2540 ซึ่งยาวนานมาถึงปัจจุบัน เพราะทำให้เราต้องปิดสาขาต่าง ๆ เกือบหมด นอกจากนี้อัตราดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายให้ธนาคารก็มีการปรับสูงขึ้นเกือบเท่าตัว เมืองหนังสือก็เลยติดภาระการเป็น NPL เหมือนเช่นธุรกิจรายอื่น ๆ แต่ไม่รู้ว่าเป็นเวรหรือกรรมที่มีปัญหาภายในครอบครัวเกิดขึ้นพร้อมกับปัญหา NPL เพราะคุณสุข ประธานของกลุ่มเกิดมีปัญหาครอบครัว ทำเอาวุ่นวายไปหมด โดยเฉฬาะกับคุณนายคนใหม่ ที่คุณสุขไปเขียนมอบทุกอย่างที่ท่านมีให้กับเธอ โดยเธอเข้าใจว่าทุกอย่างในดวงกมลเป็นของลุงสุข ทำให้เกิดเรื่องวุ่นวายถึงโรงถึงศาลกัน ซึ่งก็ไม่รู้ว่า จะจบลงที่ไหน อย่างไรก็ตามโครงการเมืองหนังสือก็จะดำเนินการต่อไป เพราะถือว่า คุณสุขเปลี่ยนไปเพราะสุขภาพ และสภาพแวดล้อม เพียงขอให้เป็นบนเรียนสำหรับคนรุ่นหลังก็แล้วกัน ไม่ควรพูดอะไรมาก เพราะคดีที่ศาลก็มีมากอยู่แล้ว
ก้าวต่อไปของเมืองหนังสือก็คือต้องพยายามสร้างศูนย์การค้าเพื่อขายของฝาก และหนังสือ บริเวณที่ดินริมถนนสายเอเชียช่วงขาเข้ากรุงเทพให้ได้ เพื่อนำเงินมาพัฒนาเมืองหนังสือให้เป็น จุดพักอาศัยของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศ โดยหวังอยู่มาก ๆ ว่า สักวันหนึ่งเมืองหนังสือจะเป็น HOMESTAY ที่ดังที่สุดของประเทศไทย เพราะตั้งใจว่าจะให้นักท่องเที่ยวมาพัก เพียงเสียค่าห้องพัก เพียง 500 บาท สำหรับการพักแต่ละครั้ง ไม่เกิน 7 วัน แล้วค่อยหารายได้จากการขายหนังสือ นักท่องเที่ยวสามารถ เดินทางท่องเที่ยวในบริเวณใกล้เคียง และมีหลายสิ่งหลายอย่างให้ดู และที่สำคัญเรามีห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สำหรับนักเดินทางทุกคน
ส่วนรายได้หลักก็จะได้มาจากการพัฒนาที่ดินอีกหนึ่งพันห้าร้อยไร่ให้เป็นรีสอรท์ สำหรับคนกรุงเทพที่น่าจะเดินทางไปพักในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ เพื่อพวกเขาจะได้เรียนรู้เรื่องธรรมชาติ ที่มีอยู่มากมายในบริเวณเมืองหนังสือ เพราะเมืองหนังสือ อยู่ติดกับริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีภูเขาที่เคยเป็นที่ตั้ง ของพระธาตุเก่าแก่ยุคทราวดี ร่วมทั้งเป็นเขตติดต่อของจังหวัดใกล้เคียง เพราะมีระยะเพียง 15 กิโลเมตร ถึงตัวเมืองอุทัยธานี 30 กิโลเมตร ถึง นครสวรรค์ ชัยนาท และตาคลี โดยห่างจากกรุงเทพมหานคร 210 กิโลเมตร ในระยะ 3 กิโลเมตร มีรถไฟ ตลาด โรงพยาบาล สถานีตำรวจ ที่ทำการเทศบาล ที่ว่าการอำเภอ ไปรษณีย์ ธนาคาร 5 แห่ง มีรถยนต์วิ่งผ่านตลอดเวลา ปั้มน้ำมัน 5 แห่ง โรงงาน 30โรงงาน
mail ถึงเมืองหนังสือ
กลับไปหน้าแรก