รามเกียรติ์
รามเกียรติ์
ฤาษีองค์หนึ่งในอินเดียได้แต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต เมื่อประมาณ พ.ศ.100 (หนึ่งร้อย)และแพร่หลายไปทั่วโดยวิธีการเล่าปากต่อปาก กลาย เป็นตำนานของศาสนาฮินดู
รามเกียรติ์ของประเทศไทยมีหลายฉบับด้วยกัน
1)ฉบับพระราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
2)ฉบับพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
3)ฉบับสมเด็จพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
4)ฉบับสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ฉบับสมเด็จพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นฉบับที่ มีสำนวนกลอนไพเราะและแฝงคติ ข้อคิดอยู่เป็นจำนวนมากกระทรวงศึกษาจึงนำมาให้นักเรียนได้ศึกษา
(เป็นข้อมูลได้จาก
หนังสือส่งเสริมการอ่านประกอบการเรียนวรรณคดีไทย เรื่องรามเกียรติ์ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์
อักษราพิพัฒน์ ในหน้า64หนา66 หน้า ราคา 80 บาท)
ฉบับที่น่าสนใจที่มีขายในปัจจุบัน
1 )บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ และบ่อเกิดรามเกียรติ์ ฉบับพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
และ สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สำนักพิมพ์บรรณาคาร หนา 1023 หน้า ราคา 250 บาท
2)หนังสือส่งเสริมการอ่านประกอบการเรียนวรรณคดีไทย เรื่องรามเกียรติ์ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์
อักษราพิพัฒน์ ในหน้า64หนา66 หน้า ราคา 80 บาท)ในเล่มมีรูป ตัวละครเอกพิมพ์ 4 สี จำนวน 30 ตัว
และเนื้อหาของตัวละคร30 ตัว
3)รามเกียรติ์ ฉบับ การ์ตูน ของสำนักพิมพ์ สกายบุ๊ค หนา 162 หน้า ราคา 135 บาท
เทศภักดิ์ นิยมเหตุ
ผลงานของคุณเทศภักดิ์ นิยมเหตุ มีทั้งหมด 10 เล่ม
ตามรายการต่อไปนี้
**1. อเล็กซานเดอร์ บอทท์ส นักการค้าผู้สามารถมาแต่กำเนิด (The Best of Botts by William Hazlett Upson)
2. แผ่นดินนี้เราจอง (Pioneer, Go Home! By Richard Powell)
**3. หลายรักของโดบี้ (The Many Loves of Dobie Gillis by Max Shulman)
**4. เสรีภาพเจ้ากรรม (A Feast of Freedom by Leonard Wibberley)
5. ลูกผู้ชาย (The Philadelphian by Richard Powell)
6. ฟ้าใหม่ในซานมาร์โค (Don Quixote U.S.A. by Richard Powell)
**7. นายอำเภอดำ (Blazing Saddles by Ted Richards)
**8. น้ำวน (Shark River by Richard Powell)
9. ชายชาติทหาร (The Soldier by Richard Powell)
**10. พระจันทร์กระดาษ (Paper Moon by Joe David Brown )
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ในราชวงศ์จักรีที่มีผลงานอันเป็นที่ประจักษ์ชัด เทียบชั้นได้กับ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในรัชกาลปัจจุบัน ก็คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส พระโอรสของพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และเป็นพระอนุชาของพระจุลจอมเก้าเจ้าอยู่หัวราชกาลที่ 5
พระองค์ท่านไต่เต้าด้วยผลงานการศึกษา และปฏิบัติ จากพระชั้นผู้น้อย จนได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 10 ของกรุงรัตนโกสินทร์ สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่2 สิงหาคม 2464 ในวัดบวรวิหาร
2 สิงหาคม 2514 รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนการจัดงาน ครบรอบปีที่ 50 แห่งการสิ้นพระชนม์ของท่าน
ในการนี้ได้มีจัดพิมพ์หนังสือ จำนวน 15 เล่ม เพื่อแสดงผลงานของพระองค์ท่าน หนังสือเหล่านี้เป็นที่แสวงหา
จากหนอนหนังสือ ทั้งหลาย โดยเฉพาะเล่มสุดท้าย ชื่อว่าประมวลพระรูป ซึ่งดูเหมือนจะเป็นของแถมของหนังสือทั้งชุด แต่ปรากฏว่า มีผู้ต้องการเป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อมาได้มีการพิมพ์เพิ่ม ขึ้นมาหลายครั้ง แต่
เล่มที่พิมพ์ครั้งแรกนั้น เป็นเล่มที่มีผู้ต้องการมากที่สุด หนังสือชุดแรก 15 เล่ม มีการซื้อขายในตลาดหนังสือเก่าสูงถึง 30000 บาท
1* ธรรมคดี
2* วรรณนาพระสูตร
3* พระธรรมเทศนา
4* ศราทธพรตเทศนา
5* การศึกษา
6 การคณะสงฆ์
7* ประวัติศาสตร์-โบราณคดี
8 ศาสนาคดี
9* พระนิพนธ์ต่างเรื่อง
10 ลายพระหัตถ์เกี่ยวกับการศึกษา
11* พระราชหัตถเลขา-ลายพระหัตถ์
12* คาถาชาดกแลแบบอักษรอริยกะ
13*พระมหาสมณวินิจฉัย
14* พระประวัติ
15* ประมวลพระรูป
หนังสือสารัตถสมุจจัย อัตถกถาภาณวาร (ฉบับ 2532)
เป็นคัมภีร์ ของพุทธศาสนา เดิมเป็นภาษา มคธ จารึกบนใบลาน จำนวน 13 มัด พระอโนมทัสสีเป็นผู้แต่ง ในแผ่นดินของเจ้าปรักกรมพาหุมหาราช ซึ่งเป็นรัชกาลที่ 119 ในสิงหฬราชวงค์ ของอินเดีย ซึ่งครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 1696 มีการจัดทำขึ้นในคราวสังคายนาครั้งที่ 7 มีการแปลเป็นภาษาไทยในสมัยรัชกาลที่ 3 ของกรุงรัตนโกสินทร์ ฉบับแปล บันทึกบนใบลานจำนวน 50 มัดครึ่ง แบ่งเป็น 22 บท
มีการจัดพิมพ์เป็นเป็นเล่มเพื่อเป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็ดพระสังฆราช (วาสน์ วาสนมหาเถระ) เมื่อวันเสาร์ที่ 18 มีนาคม 2532 โดยพิมพ์จากต้นฉบับที่เป็นใบลานจำนวน 21 บท ส่วนบทที่ 22 หาไม่พบ จึงได้จัดการแปลขึ้นมาใหม่ เป็นหนังสือขนาดมาตรฐาน ตัด 8 พิเศษ จำนวน 4 เล่ม แต่ละเล่มหนาประมาณ 400 หน้า นับเป็นหนังสือชุดที่น่าสนใจชุดหนึ่ง
กลับไปหน้าแรก
|